เมืองป้าววังหิน
หากคุณเกิด คุณอาศัย หรือว่าคุณกำลังจะปที่เมืองพร้าว แล้วคุณรู้จักอำเภอพร้าวดีพอหรือยัง ถ้ายังแล้วล่ะก็...มาเริ่มรู้จักอำเภอพร้าวไปพร้อมๆกันเลยดีกว่า
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ตำนานถ้ำดอกคำ
ตำนานถ้ำดอกคำ
เรื่องราวของถ้ำดอกคำนี้ปรากฎอยู่ในตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลกหรือตำนานพระบาทพระธาตุฉบับพิสดารจารึกด้วยตัวอักษรไทยยวน ภาษาบาลีมีข้อความพอจะนำมาเป็นข้อพิจารณาหาข้อมูลอยู่บ้างซึ่งมีข้อความว่า "พระพุทธเจ้าของเราพร้อมด้วยพระยาอินทร์พระยาอโศก พระอานนท์ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้เดินเทสสันถี คือการเสด็จไปเทศนาโปรดสัตว์ในนิยมราชธานีน้อยใหญ่ในที่ต่างๆ เข้ามาในเขตเมืองหริภุญชัย เมืองลี้ เมืองท่าหัวเตียน เมืองอู่คำ "ยังมีวันหนึ่งพระพุทธเจ้าของเราก็เสด็จไปด้วยพระองค์เพียงองค์เดียวก็มานั่งในถ้ำนี้ ขณะนั้นยังมียักษ์ 2 ตน ผัวเมียอาศัยอยู่ในถ้ำหลวงเชียงดาวมาเป็นเวลานาน วันหนึ่งมันก็ออกหาอาหารในบริเวณแถวถ้ำดอกคำนี้ (ความจริงพระองค์ทรงรู้ไว้ก่อนแล้วว่ายักษ์จะมาทางนี้และทรงคิดว่าจะทรมานยักษ์ผู้หยาบช้าตนนี้ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลในธรรมพระองค์จึงเสด็จมาทรมาน)ยักษ์ผู้สามีก็เล็งเห็นชายผู้หนึ่งมีรูปร่างงามมักนั่งอยู่ในถ้ำ มันก็เข้าไปหาเพื่อจะจับกินเป็นอาหาร พอเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าเหาะหนี มันจึงหยิบเอาก้อนผา (ก้อนหิน)ขว้างตามหลังไปหลายก้อน โดยไปตกที่ริมปากถ้ำ 2 ก้อนแต่ไม่ถูกพระพุทธเจ้า ยักษ์ตนนั้นจึงมีความเจ็บใจมาก จึงคิดหาอุบายโดยการแปลงร่างเป็นอีกาบินไล่กวดพระพุทธองค์ไป พระพุทธองค์ก็แปลงร่างเป็นตัวหมัดจับอยู่ที่หัวของอีกา อีกาไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ไหน บินวนเวียนหาอยู่ตั้งนานจนหลงเข้าไปในป่าทึบแห่งหนึ่ง ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า "บ้านดงกาหลง"จนทุกวันนี้
ในที่สุดมันก็ลดทิฐิมานะยอมแพ้ยกมือไหว้พระพุทธเจ้าแล้วเหาะกลับไปที่ถ้ำเชียงดาวบอกเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ภรรยาตนยักษ์ผู้เป็นภรรยาจึงได้ชวนผู้เป็นสามีแต่งดาขันข้าวตอกดอกไม้ซึ่งเป็นดอกบัวคำมาสักการะพรพุทธองค์ ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่าถ้าดอกคำตั้งแต่นั้นมาส่วนยักษ์สองผัวเมียตั้งแต่นั้นก็ตั้งอยู่ในศีลในธรรมเรื่อยมา หากินแต่ผลไม้ไม่กินเนื้อกินปลาอีก อยู่มาวันหนึ่งได้เดินพลาดที่หน้าผาแห่งหนึ่งด้วยความชรา ต่อมาที่นั่นจึงได้ชื่อว่า "ห้วยผาลาด"มาจนถึงทุกวันนี้ ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อไปด้วยอาการเจ็บป่วยได้ไปพักนอนตะแคงงอหล้องหง้อง (ภาษาเมือง) อยู่ที่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมาได้ชื่อว่า บ้านแม่ละงอง มาจนถึงทุกวันนี้ประเพณีทำบุญถ้ำดอกคำมีทุกๆ เดือน 8 เหนือขึ้น 15 ค่ำ ด้วยการทำบุญตักบาตรจุดบ้องไฟและอื่นๆการสร้างตำนานขึ้นมานี้เป็นกุสโลบายอันแยบยลของคนในอดีตเพื่อเสริมสร้างศรัทธาของสาธุชนเพื่อโน้มน้าวจิตใจในการกระทำคุณงามความดี
พระเจ้าล้านทอง
ประวัติพระเจ้าล้านทอง
พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระเจ้าหลวง " เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้าง มานานสมัยเวียงพร้าว-วังหิน เป็น พระพุทธรูป ปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ วัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆ อ้างอิงดัง ต่อไปนี้จาก หนังสือ ตำนานเวียงพร้าว-วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10 กล่าวไว้ว่า "พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็น พระพุทธรูป ที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าวและทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น และตามหนังสือ คนดีเมือง เหนือของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 98 กล่าวไว้ว่า "พ่อท้าวเกษกุมารได้ครอง เมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนาม ในการขึ้นครองราชย์ว่า พระ เมืองเกษเกล้า พระองค์ ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมือง พร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้"
ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล…888 ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน ตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่าหลัง จากเวียงพร้าว วังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมือง หมดคงปล่อยให้องค์ พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง 349 ปีจนมาถึง พ.ศ.2450 ได้มีดาบส นุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน
เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจา ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อง ถึงหมอผี ต้องทำบน บานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง ท่านไม่กลัวเดินเที่ยว ชมบริเวณ ได้พบองค์พระพุทธรูป ทองสำริดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานนิอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่ เผาเศษ ไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลาเสาสี่ต้นมุงด้วย ไม้เกล็ด คร่อมองค์พระพุทธรูปไว ้เพื่อเป็นร่มกันแดดกันฝน จนถึงปี พ.ศ. 2462 ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสัน ขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาว บ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพ อุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ ท่านครู บาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้ สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบา เป็นอย่าง มาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน) ต่อมา พ.ศ. 2512 ได้มิท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุข ทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ 80% เมื่อปี พ.ศ. 2515 แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1333 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้มีการซ่อมแซม วิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมี พล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน ใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ 1 ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว - วังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
อดีต ก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป
นามเดิม ญาน กำเนิด 16 ม.ค. 2430 สถานที่เกิด จ.เลย อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี เมื่อพ.ศ. 2452 มรณภาพ 2 ก.ค. 2528 อายุ 99 ปี 77 พรรษา
หลวงปู่สืบเชื้อสายมาจากชาวหลวงพระบาง ราชธานีเดิมของราชอาณาจักรลาว หลวงปู่บวชเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี ตามคำขอร้องของมารดา และยาย ซึ่งขอให้หลวงปู่บวชตลอดชีวิต
นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการกำเนิดอริยะสงฆ์อีกองค์หนึ่ง ของไทย
หลังจากบวชได้ 2 ปี หลวงปู่ได้เข้าพำนัก และฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดบ้านสร้างถ่อ ต.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี ซึ่งมี พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นเจ้าอาวาส
กระทั่งอุปสมบทจึงได้ออกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมตามป่าเข าต่างๆ หลายแห่ง และเข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระอาจารย์มั่น ได้กล่าวคำสอนแก่หลวงปู่ว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน"
เพียงคำพูดเดียวนี้เอง หลวงปู่เกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระอาจารย์มั่น และถวายตนเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในเวลาต่อมา หลวงปู่เปลี่ยนญัตติเป็นธรรมยุตินิกาย ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่อยู่เผยแพร่ศาสนาในแถบภาคเหนือหลายปี ก่อนจะเข้าจำพรรษาในช่วงบั้นปลายชีวิตที่วัดดอยแม่ปั ๋ง และในช่วงนี้ นับเป็นช่วงที่ชื่อเสียง คุณงามความดีของหลวงปู่ได้เป็นที่รับรู้ของเหล่าสาธุ ชนทั่วประเทศ ถนนทุกสายวิ่งตรงสู่ดอยแม่ปั๋ง โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การได้กราบนมัสการอริยสงฆ์แห่งวงการพุทธศาสนา หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระอเสขบุคคลผู้บรรลุพระนิพพานธรรม หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกลูของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ''ญาณ'' ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้
พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษา เป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แ หวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ''ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ...'' หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวน กำลัง นอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู้ลูกหลานและหลวงปู่แห วนฟัง ในวันรุ้งขึ้นว่า ''เมื่อ คืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็ดดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวชฉะนั้นยายขอให้เจ้า บวช ตลอดชีวิตและขอ ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม''
บรรพชา
จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแล เอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีดคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ''ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม'' ท่านหันมามองหลวงปู่แหวน แล้วอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั่งสองเข้าถวาย ตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ''ญาณ'' เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา
รัศมีเปล่งจากกาย รัศมีโอกาสเปล่งจากกาย
ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนังตยาคโน ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่า ยนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็ บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอกา ส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฎิบัติทั้งหมดให้
ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า ''สุจิณโณ'' จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ หลวงปู่ขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง
ปีพ.ศ.2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่า ตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้
นับแต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โ ดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่า นั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่ มี
ปีพ.ศ.2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสีย งหลวงปู่ดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่ห ลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย
เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว
ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่ม ีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่จะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่า อันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน
นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน
หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี
ประวัติอำเภอพร้าว
ประวัติความเป็นมาของอำเภอพร้าว
อำเภอพร้าวมีชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า "เมืองป้าว" เป็นเมืองโบราณที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณว่า “เวียง
พร้าววังหิน” หรือ “เวียงแจ้สัก” ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองพร้าว” มีประวัติความเป็นมาปรากฏตามตำนานโยนก ดังนี้
พุทธศักราช 1780 “พระเจ้าราวเม็ง” ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง(จังหวัดเชียงราย) มีมเหสีทรงพระนามว่า
“พระนางเทพคำข่าย” มีโอรสชื่อ “เม็งราย” พ.ศ.1801 พระเจ้าราวเม็งทิวงคต พระเจ้าเม็งรายพระราชโอรสได้ขึ้นครอบราชสืบต่อมา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์คือ (1) ขุนเครื่อง (2)ขุนคราม (3)ขุนเครือ
พุทธศักราช 1816 พระเจ้าเม็งรายทราบข่าวว่าทางหริภุญชัยนคร(เมืองลำพูน) อุดมสมบูรณ์พูนสุข จึงส่ง
”อ้ายฟ้าจาระบุรุษ” ไปกระทำวิเทโสบายกลศึกทางเมืองลำพูนนานถึง 7 ปี อ้ายฟ้าได้กระทำการสำเร็จ จึงทูลพระเจ้าเม็งรายเพื่อเกณฑ์ไพร่พลยกทัพไปตีเมืองลำพูน
พุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สอง ครองเมืองเชียงราย และพระองค์ได้ยก
ทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน การเดินทัพถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยตั้งค่ายคูประตูหอรบ อย่างมั่นคงแข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อ “เวียงหวาย” และขนานนามว่า “นครป้าว” บางตำนานว่า “นครแจ้สัก” หรือ “เมืองป้าววังหิน” (คำว่า “ป้าว” มาจากคำว่า “ป่าวร้องกะเกณฑ์ไพร่พล” ภาษาท้องถิ่นหมายถึง “มะพร้าว” เพราะลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมกลืนเหมือนลูกมะพร้าว) เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งรายและยังสร้างไม่เสร็จพระองค์ได้ยกทัพสู่เมืองลำพูนต่อไป มุ่งทัพลงมาทางใต้เลียบฝั่งแม่น้ำปิงไปพบชัยภูมิอีกแห่งหนึ่ง แต่ภารกิจยังไม่บรรลุเป้าหมาย จึงเคลื่อนทัพเข้าที่ราบผืนนี้ทำการเกณฑ์ไพร่พลขึ้นใหม่เพื่อสร้างเมืองและขนานนามว่า “นครพิงค์” (นครพิงค์สร้างหลังเมืองป้าวประมาณ 15 ปี ประมาณ พ.ศ.1828)
ในเวลาต่อมาพระเจ้าเม็งรายทรงเสด็จมาครองเมืองนครพิงค์ที่สร้างขึ้นใหม่ และขนานนามเมืองที่สร้างขึ้น
ใหม่ว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” และทรงให้ขุนเครือ ราชโอรสองค์ที่สามไปครองเมืองป้าว ขุนเครือได้บูรณะและสร้างต่อเติมเมืองป้าววังหิน (เวียงที่กล่าวนี้ อยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทองถือว่าเป็นศูนย์กลางเวียง) จนได้ขนานนามว่า “นครป้าว” ขุนเครือครองเมืองป้าววังหินนานเท่าไรไม่ปรากฏหลักฐาน จนถึงปีสุดท้ายได้ถูก พระเจ้าเม็งรายลงทัณฑ์เกี่ยวกับการทำกาเมสุมิฉาตาลกับพี่สะใภ้ จึงถูกเนรเทศไปยังเมืองปาย (จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) หลังจากนั้นนครป้าวจึงลดลงมาเป็นเมืองลูกหลวง ในเวลาต่อมา กษัตริย์ผู้ครองนครล้านนาไทยไม่มีราชบุตร ก็ส่งขุนนางคนสนิทไปครองเมืองแทน จนกระทั่งสมัยพระเจ้าแกน(พ.ศ.1954-1958) พระองค์ส่งลูกเจ้าราชบุตรองค์ที่ 6 หรือเจ้าติโลกราช หรือพระเจ้านิโลกราช ไปครองนครป้าว นับเป็นองค์สุดท้ายที่ครองนครป้าวนับแต่สร้างนครป้าวมา(พ.ศ.1823) จนถึงปัจจุบัน(2550) มีอายุถึง 727 ปี
การปกครองสมัยนั้นเรียกหัวเมืองเป็นแขวง คือ แขวงเมืองพร้าว ผู้ดำรงตำแหน่งนายแขวงคนแรก คือ
นายจันทร์ (ไม่ทราบนามสกุล) มีนายแขวงปกครองติดต่อกันมาจนถึงสมัยขุนชำนินรการ ซึ่งเป็นนายแขวงคนสุดท้าย ในปี พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเปลี่ยนจากนายแขวงมาเป็นนายอำเภอ ทำให้อำเภอพร้าวมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบริหารราชการมาจนถึงปัจจุบันนี้
ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม
ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมของอำเภอพร้าวที่สำคัญ คือ
- ประเพณีใส่ขันดอกอินทขิล ( ศาลหลักเมือง ) และสืบชาตาเมืองพร้าว ตำบลเวียง เป็นงานประจำปีของ
อำเภอ เชื่อว่า การบูชาศาลหลักเมืองและสืบชาตาเมืองพร้าว แล้วจะทำให้บ้านเมืองมีความร่มเย็น เป็นสุข ปราศจากทุกข์ภัย บัดเป่าภัยพิบัติต่าง ๆ ของเมืองพร้าว
- ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง ตำบลน้ำแพร่ ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือของทุกปี เพื่อทรงน้ำ
พระพุทธรูปเจ้าล้านทอง ณ วันพระเจ้าล้านทอง เป็นการแสดงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าล้านทอง โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็น ความเจริญ ปัดเป่าเพศภัยต่าง ๆ แก่บ้านเมือง ทำให้อยู่อย่างมีความสงบสุข
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)