วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตำนานถ้ำดอกคำ





ตำนานถ้ำดอกคำ

เรื่องราวของถ้ำดอกคำนี้ปรากฎอยู่ในตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลกหรือตำนานพระบาทพระธาตุฉบับพิสดารจารึกด้วยตัวอักษรไทยยวน ภาษาบาลีมีข้อความพอจะนำมาเป็นข้อพิจารณาหาข้อมูลอยู่บ้างซึ่งมีข้อความว่า "พระพุทธเจ้าของเราพร้อมด้วยพระยาอินทร์พระยาอโศก พระอานนท์ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้เดินเทสสันถี คือการเสด็จไปเทศนาโปรดสัตว์ในนิยมราชธานีน้อยใหญ่ในที่ต่างๆ เข้ามาในเขตเมืองหริภุญชัย เมืองลี้ เมืองท่าหัวเตียน เมืองอู่คำ "ยังมีวันหนึ่งพระพุทธเจ้าของเราก็เสด็จไปด้วยพระองค์เพียงองค์เดียวก็มานั่งในถ้ำนี้ ขณะนั้นยังมียักษ์ 2 ตน ผัวเมียอาศัยอยู่ในถ้ำหลวงเชียงดาวมาเป็นเวลานาน วันหนึ่งมันก็ออกหาอาหารในบริเวณแถวถ้ำดอกคำนี้ (ความจริงพระองค์ทรงรู้ไว้ก่อนแล้วว่ายักษ์จะมาทางนี้และทรงคิดว่าจะทรมานยักษ์ผู้หยาบช้าตนนี้ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลในธรรมพระองค์จึงเสด็จมาทรมาน)ยักษ์ผู้สามีก็เล็งเห็นชายผู้หนึ่งมีรูปร่างงามมักนั่งอยู่ในถ้ำ มันก็เข้าไปหาเพื่อจะจับกินเป็นอาหาร พอเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าเหาะหนี มันจึงหยิบเอาก้อนผา (ก้อนหิน)ขว้างตามหลังไปหลายก้อน โดยไปตกที่ริมปากถ้ำ 2 ก้อนแต่ไม่ถูกพระพุทธเจ้า ยักษ์ตนนั้นจึงมีความเจ็บใจมาก จึงคิดหาอุบายโดยการแปลงร่างเป็นอีกาบินไล่กวดพระพุทธองค์ไป พระพุทธองค์ก็แปลงร่างเป็นตัวหมัดจับอยู่ที่หัวของอีกา อีกาไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ไหน บินวนเวียนหาอยู่ตั้งนานจนหลงเข้าไปในป่าทึบแห่งหนึ่ง ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า "บ้านดงกาหลง"จนทุกวันนี้



ในที่สุดมันก็ลดทิฐิมานะยอมแพ้ยกมือไหว้พระพุทธเจ้าแล้วเหาะกลับไปที่ถ้ำเชียงดาวบอกเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ภรรยาตนยักษ์ผู้เป็นภรรยาจึงได้ชวนผู้เป็นสามีแต่งดาขันข้าวตอกดอกไม้ซึ่งเป็นดอกบัวคำมาสักการะพรพุทธองค์ ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่าถ้าดอกคำตั้งแต่นั้นมาส่วนยักษ์สองผัวเมียตั้งแต่นั้นก็ตั้งอยู่ในศีลในธรรมเรื่อยมา หากินแต่ผลไม้ไม่กินเนื้อกินปลาอีก อยู่มาวันหนึ่งได้เดินพลาดที่หน้าผาแห่งหนึ่งด้วยความชรา ต่อมาที่นั่นจึงได้ชื่อว่า "ห้วยผาลาด"มาจนถึงทุกวันนี้ ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อไปด้วยอาการเจ็บป่วยได้ไปพักนอนตะแคงงอหล้องหง้อง (ภาษาเมือง) อยู่ที่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมาได้ชื่อว่า บ้านแม่ละงอง มาจนถึงทุกวันนี้ประเพณีทำบุญถ้ำดอกคำมีทุกๆ เดือน 8 เหนือขึ้น 15 ค่ำ ด้วยการทำบุญตักบาตรจุดบ้องไฟและอื่นๆการสร้างตำนานขึ้นมานี้เป็นกุสโลบายอันแยบยลของคนในอดีตเพื่อเสริมสร้างศรัทธาของสาธุชนเพื่อโน้มน้าวจิตใจในการกระทำคุณงามความดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น